วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

ถ้าโรงงานเก่า ต้องทำ HAZOP ? และP&ID



  ถ้าโรงงานเก่า ต้องทำ HAZOP  ? >>>>>


     ทำยังไงดี P&ID   ก็ไม่มี / แบบผังโรงงานหาย ? 

           หลายๆท่านที่ทำงานที่โรงงานที่มีอายุมากแล้ว (ไม่ใช่คนนะ ) แต่หมายถึงโรงงานที่ตั้งมานานแล้วบางทีก็ตั้งมาตั้งแต่โรงงานยังเป็นที่รกร้างป่าผีสิงอยู่เลย  (ฮา)     แต่เมื่อระบบต่างๆ เข้ามาทางโรงงานเองก็จำเป็นจะต้อง ปรับตัวตามไปด้วย  และไม่ว่ายังไง หากบริษัทไหนทำระบบด้านความปลอดภัยแล้วละก็ คงต้องมีการทำ  HAZOP  หรือ  Hazard And Operability Studied    จะพูดกันง่ายๆ ก็คือการใช้เทคนิควิเคราะห์และประเมินเพื่อชี้บ่งอันตรายและความเสี่ยง   เพื่อค้นหาอันตรายที่มันอาจจะเกิดขึ้นได้  โดยเราจะใช้เครื่องทุ่นแรงที่เรียกกันว่า  Key words ต่างๆ เช่น  More less  None   

     แต่วันนี้ไม่ได้จะมาคุยกันเรื่องนี้เลยครับ  ประเด็นปัญหามันอยู่ก่อนหน้านั้นอีก  ปัญหาคือ>>   

 มันต้องใช้ P&ID  อะสิ !!!!   เพราะพวกนี้มันต้องเป็นแนวทางในการวิเคราะห์พวกระบบท่อต่างๆ  เพราะ P&ID มันจะอธิบายถึงอุณหภูมิ แรงดัน  และอะไรต่อมิอะไรที่ควรรู้เพื่อใช้ในการวิเคราะ HAZOP  อีกทีหนึ่ง 

แล้ว P& ID  มันคืออะไรเหมือน Production line diagram  หรือเปล่า  คำตอบคือคล้ายๆ   

แต่ก่อนที่เราจะมาทำ P& ID  เราต้องทราบวิธีการอ่านมันก่อน   สำหรับวันนี้ก็จะมาอธิบายถึงการอ่าน P&ID  กันก่อนครับ 



[P&ID.jpg]


 ก่อนอื่นมาดูภาพนี้กันก่อน >>>>. 


ภาพนี้จะอธิบายถึง P & ID  เบื้องต้น    ดูยากใช้ไหมครับ  ตอนแรกผมก็คิดแบบนั้น  และตอนนี้ก็ยังคิดแบบนั้นอยู่ 555555  
 ล้อเล่นๆ  แต่ก็ยังมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น   เดี๋ยวจะอธิบายให้ฟังครับ  
 เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นผมจะขอแบ่งๆ เป็นข้อย่อยๆ  ให้ฟังครับ กินเค้กทั้งก้อนมันยาก แต่กินที่ละคำมันง่ายกว่า  คุณว่าจริงไหม 
1.  Sensor /measuring sensor /sensor equipment      หรืออุปกรณ์ตรวจจับทั้งหลาย 
        -มาดูที่ TE 03  เป็นตัวตรวจับอุณหภูมิ ที่ออกมาจากระบบ  ปกติดูง่ายๆ T  ก็คือ temperature หรืออุณหภูมิ   (ปกติแล้วจะมีสัญญาลักษณ์ที่เป็นสากล ที่กำหนดมาแล้ว แต่จะยังไม่ขอพูดในที่นี้นะครับ เอาให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ก่อน )   ต่อมาก็จะลิงค์ไปตัวแปลงสัญญาน TT  03 ( T ในที่นี้จะหมายถึง transform นั้นเอง )  จากค่าอุณภูมิที่วัดได้เป็นสัญญานทางไฟฟ้า   เพื่อส่งต่อไปยัง TIC 03   เพื่อทำการแปลงเป็นสัญญานขนาด 4-20 mA  ตามมาตรฐานอีกทีหนึ่ง ส่วนตัวเลข 03 ก็คือลูปการทำงานที่เราให้เป็นตัวเลขเพื่อแยกระบบต่างๆ ออกจากกัน นั้นเอง
        -เรามาดูอีกลูปหนึ่งดีกว่า >>  LT01  สังเกตง่ายๆ มันเป็น ตัวตรวจจับเกี่ยวกับการวัดระดับน้ำ นั้นเอง  จากนั้นก็จะไปหา LIC 01 เพื่อแปลงเป็นสัญญานไฟฟ้าขนาด 4-20 mA    ส่วน PT02  เป็นตัวปรับแรงดัน  (P  ก็คือ Pressure นั้นเอง)  จากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นสัญญานไฟฟ้าขนาด 4-20 mA    ส่งไปยัง  PIC 02 
2.   Controller /controlling equipment    หรืออุปกรณ์ควบคุม
     - ตามที่เห็นในแผนภาพนะครับ P&ID  ตัวนี้เราจะเรียกว่า Controller ซึ่งจะเป็นตัวที่รับสัญญาน จากตัวแปลงหรือตัวส่งสัญญาน (TT01 PT02  และ LT01 ) ส่วนตัว TLC 03  จะเป็นตัวควบคุมการปิด เปิด  อุณภูมิ  และตัวควบคุม ตัวนี้จะรับสัญาณ 4-20 mA จาก LT01 และนำมาปรับเทียบกัน level  ตัวที่เราตั้งไว้ จากตัวคอนโทรลเลอร์โดยจะอ้างอิงข้อมูลจาก LIC 01  เป็นสัญญาญเบื้องต้นและส่งสัญญานโดยรวมไปยังตัวควบคุมตัวสุดท้าย LCV01  ผ่านทาง LY
     - ท้ายสุด PIC02   ห้องควบคุม แรงดัน และตัวควบคุมจะได้รับสัญญาณ 4-20 mA  จาก PT02 เปรียบเทียบตัวมันกับค่าความดันเริ่มต้น   สุดท้ายก็จะส่งสัญญาน ไปยัง PVC 02  ผ่านทาง PY



3. Final control  Element     หรืออุปกรณ์ควบคุมตัวสุดท้าย

    -  TCV03  เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิ  วาล์ว ซึ่งระได้รับสัญญานจาก ๅTIC03  (ส่วนใหญ่จะอยู่ในห้องควบคุมครับ )  เพื่อเปิดปิดวาล์ว ระบาย condensate  หรือ หยดน้ำที่เกิดจากความชื้้น เพือควบคุมอุณหภูมิในระบบน้ำ
     สำหรับ  TCV03    แล้ว TY03  คือตัว I/P convector อธิบายง่ายๆ คือตัวนี้จะเป็นตัวแปลงสัญญานจากElectronic จาก TIC03  เป็นสัญญาน Pneumatic

    เหมือนกันกับ LCV 01  ตัวควบคุมระดับวาล์ว   จะได้รับสัญญานจาก LIC01  และPIC02  เพื่อทำการเปิด /ปิด วาล์วแต่ละตัว โดยจะล้อตามการควบคุมระดับ และความดัน
 
    - TY03, LY01 , PY02 จะถูกเรียกว่า Called tarn conductor  ตัวพวกนี้จะเปลี่ยนสัญญาน Electronic  เป็น  Pnuematic  เพือ่ความเข้าใจ เกี่ยวกับ  P&ID  จะเขียนย่อๆ ดังนี้


1.  temperature control   TE03 > TT03> TIC03> TCV03
2.  level control     LT01>LIC01 >LCV01
3.   Pressure control  PT02> PIC02 >PCV02



     ....... ฮู้ยยยย เหนื่อย    Ok  ต่อไป ถ้าเราเห็นตาราง P&ID   ก็ไม่ต้องกลัวอีกต่อไป  ให้นึกถึงผังอย่างง่ายตัวนี้   ความยุ่งยากต่างๆ ที่เราเห็นจะใช้วิธีการ เดินไลน์เส้นตามลูป การทำงาน  อย่าลืมนะครับว่า


     "  เข้าใจระบบ คือเข้าใจกระบวนการทำงานระบบ  "   นั่นเอง



 สำหรับตอนนี้   >>>>>>>>>>>>>>>    สวัสดีครับ

1 ความคิดเห็น: