วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

มาลงรายละเอียดให้ P&ID เรากันดีกว่า ? , ใส่instrument กันไหม?

 มาลงรายละเอียดให้ P&ID ของเรากันดีกว่า 

จั่วหัวย่อยกันอย่างงี้กันเลยที่เดียว >>>>   

จริงๆ แล้วก่อนจะเข้าเรื่องไม่นานมานี้ ผมปวดฟันมาก เลย ไม่คิดว่าอายุมากแล้วมันจะมาปวดอีก 
จำได้ล่าสุดความเจ็บปวดนี้เกิดขึ้นตอนฝ่าฟังคุด ว่าแต่ไอ้ฟันคุดเนี้ย มันต้องเป็นกันทุกคนหรือเปล่านะ 


จริงๆ อันนี้ก็ไม่ค่อยแน่ใจเหมือนกัน ... ใครไม่เคยเป็นพันคุดมัน    ไปฉลองเถอะ เชื่อผมโชคดีกว่าถูกรางวัลได้พัดลมงานกาชาดซะอีก 



 นอกเรื่องไปกันไกลน่าดู  ใครจำได้ก็ครั้งที่แล้วได้สอนวิธีการอ่าน  P&ID  กันไปแล้ว  >>> "  ไม่อยากลองเขียนมั้งเหรอ ? "   


      แหมๆๆๆๆ    ตอบไม่กันหมดเลยนะ .......



 โอเค เอาน่าคงไม่อยากเขียนกันหรอก แค่อ่านยังงง  แต่วันนี้ครับเราจะมาลองเขียนกัน เอาง่ายๆ   ไม่อยาก   ผมเองบอกตรงๆ ก็ไม่อยากเขียนหรอก แต่พอถึงคราวจำเป็น ก็ต้องมานั่งเขียน ดีนะแค่เขียนแก้งานที่คนก่อนเขียนเอาไว้ไม่ได้ทำเองทั้งหมด >>>>>  ไม่งั้นตายคาโต๊ะทำงาน !!  ( ไม่มีประกันการตายคาโต๊ะทำงานซะด้วย 555)       

 P& ID   คนส่วนใหญ่มักจะรู้จักกันในนาม  engineering  Flow diagrams บ้าง  machine flow diagrams บ้าง    อย่างไรก็ตาม  เรามักใช้อธิบายกระบวนการในการผลิต (อะไรซักอย่าง) ว่ามีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง เช่น เครื่องมือ เครื่่องจักร วาล์ว ตัวเซ็นเซอร์   บราๆๆๆๆๆๆ    ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ต่างๆ ของเครื่องมือ เครื่องจักร ที่ใช้ ทำให้เราเห็นภาพว่า ของพวกนี้มันทำงานอย่างไร  และที่สำคัญ หากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือคนเก่าลาออกไป คนใหม่ก็สามารถอ่านกระบวนการต่างๆ ได้จากตัว P&ID  ได้เลย 

ดี   ชิ มิ ละ....

 P&ID  จะมีรายละเอียด หรือ  detail   (อันเดียวกันนะเหลาะ)  ที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้  เอ้า  จดนะนักเรียน

  • process equipment    :    อุปกรณ์ต่างๆ ในระบบมีอะไรบ้าง 
  • process line (pipe)   :    ท่อต่างๆ มีอะไรบ้าง (อย่าลืมใส่รายละเอียด)
  • pipe number           :      ท่อมันเยอะ ใส่หมายเลขท่อลงไปด้วยละ 
  • control valve and inline equipment :    ว่าล์วต่างๆ และอุปกรณ์ภายในเส้นท่อ 
  • instrument symbol   :     สัญญาลักษณ์ไง  
  • instrument tag  number     :       ป้ายอุปกรณ์  ระบุรายละเอียด 
  • instrument single line   :       สัญญาลักษณ์บ่งบอกลักษณะสัญญานต่างๆ 

 คนเคราะ ทั้ง 7 นี้ จะ  ช่วยนางซิลดอ กอลินล่า อย่างเราให้เขียน P&ID  อย่างเป็นขั้นตอนได้ อะจ้า 








อย่างที่ตามภาพด้านบน    วาดเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในระบบก่อน  ตามด้วยท่อ เสร็จแล้วใส่ วาล์ว และ อุปกรณ์ตรวจจับต่างๆ  ที่อยู่ตามไลน์ท่อลงไป      เอาแค่นี้ก่อนแล้วไปกินชาเย็น ค่อยมาเขียนต่อ 


กินเสร็จยัง>>>>>>>>


ต่อมา ก็ใส่รายละเอียด พวก อุปกรณ์ควบคุม  ต่างๆ  เช่น ตัวจับความเร็วของไหล ตัวจับอุณหภูมิ  ตัวควบคุมโดยใส่สัญญาลักษณ์ตามมาตรฐาน ISA   (เดี๊ยวค่อยมาบอกว่ามันคืออะไร)  ใส่ signal  ด้วยนะ








  เอาละสุดท้ายใส่รายละเอียดให้เต็มที่   ใส่หมายเลข loop  ใส่ สัญญานรายละเอียดยิบย่อย  



   เป็นไง ง่ายไหม   ตะเอง 


............................................................................................

     รู้แล้วนะน่า ว่ายังไม่ได้บอกว่าสัญญาลักษณ์ต่างๆ เขียนยังไง  ใช่ไหมละ 




  ภาพด้านบนเป็นส่วนของ  Instrument  ต่างๆ ที่เราจะใช้สัญญาลักษณ์เป็นตัวย่อใส่ลงในวงกลม หรือ สี่เหลี่ยม   หรือ หกเหลี่ยม   ถ้าตัวไหนมีกรอบ แสดงว่าเป็นตัว  connection  ไปหาตัว instrument   อื่นๆ
ถ้ามีขีดเดียวอยู่ห้องคอนโทรลรูม ถ้ามีสองขีด อยู่ใน Location  ครับ นอกนั้นหาดูจากภาพด้านบน (เอาน่าขยันหน่อย) 






  เส้นท่อต่างๆ ดูได้จาก แผนภาพด้านบนจ้า ใช้กันให้ถูก ส่วนใหญ่ก็ใช้กันไม่กี่รูปแบบหรอก ไม่ต้องคิดมาก เช่น เส้นธรรมดา   คือท่อหลัก  มีสองขีด ก็เป็นท่อลม  ถ้ามีสามขีดก็เป็นสัญญานไฟฟ้า ประมาณนี้




ส่วนภาษาอังกฤษตัวย่อเอาไว้ใส่ในเครื่องหมายกลม ๆ  สี่เหลี่ยมดูตรงนี้   (แผนภาพด้านบน) 


โอเค กันแล้วใช่ไหม  ไปรองทำกันดูนะครับ     ผมว่าน่าจะพอได้แล้วละ 



สำหรับตอนนี้  >>>>>>>>>   สวัสดีครับ  (-/|\-)   





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น